พระวิสุทธิญาณเถร (สมชาย ฐิตวิริโย)

นามเดิม สมชาย มติยาภักดิ์ ฉายา ฐิตวิริโย เป็นวิปัสสนาจารย์สายพระป่าในประเทศไทยของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อดีตประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม

ประวัติ

หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านเป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ด เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2468 ตรงกับวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีฉลู เวลาเที่ยงวัน ณ หมู่บ้านเหล่างิ้ว ตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ในตระกูลที่เป็นชาวฮินดู หลวงปู่สมชาย เป็นบุตรคนที่ 2 ของโยมบิดาชื่อ “สอน มติยาภักดิ์” โยมมารดา “บุญ มติยาภักดิ์” โยมมารดาของท่านเป็นบุตรตรีคนเล็กของหลวงเสนา ศาสนาพราหมณ์ในท้องถิ่นนั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันเพียง 2 คน คือ 1. นายหนู มติยาภักดิ์ 2. หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย

หลวงปู่สมชายได้ถือกำเนิดในสกุลของศาสนาพราหมณ์ วันที่หลวงปู่สมชาย กำเนิดนั้น เป็นวันตรงกับเวลาประกอบพิธีทางศาสนา พอเริ่มขบวนแห่ มารดาของท่านให้กำเนิดท่าน ซึ่งทำให้พิธีการทางศาสนาที่กำลังกระทำอยู่ ต้องหยุดชะงักลงด้วยนิมิตหมายอันนี้ คุณตาหรือคุณหลวงเสนาจึงได้ทำนาย ไว้ว่า “หลวงปู่สมชาย จะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงศาสนาเดิมของตระกูล” และก็เป็นไปตามนั้น เพราะท่านมีความสนใจในธรรมะทางพระพุทธศาสนาท่าน ชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาก โดยท่านมีอุปนิสัยในทางธรรมตั้งแต่อายุ 16 ปี ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่ในทางฆราวาส จนถึงอายุ 19 ปี ด้วยความ เบื่อหน่ายต่อความเป็นอยู่ของโลก ที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย และ เต็มไปด้วยความทุกข์ไม่เที่ยง ท่านจึงคิดที่จะสละเพศฆราวาสออกบวชในบวรพุทธศาสนาเพื่อแสวงหาความพ้นทุกข์

อุปสมบท

ท่านได้บรรพชาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก อายุ 19 ปี ณ อุโบสถวัดเหนือ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีท่านเจ้าคุณ พระโพธิญาณมุนีเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ธรรมยุตเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้ ถวายตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เมื่อปลายปี พ.ศ. 2487 ที่ วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

ท่านได้ทำการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดศรีโพนเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2489 โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ครูบาอาจารย์ที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของ หลวงปู่มั่นทั้งสิ้น โดยเฉพาะพระธรรมเจดีย์นั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโรอีกด้วย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เป็นทั้งลูกศิษย์ หลานศิษย์และเหลนศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภายหลังจากได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว หลังจากประพฤติปฏิบัติธรรม จนเกิดซาบซึ้งในพระศาสนาพอสมควรแล้ว ท่านได้นำเอาธรรมะไปอบรมสั่ง สอนประชาชนในท้องถิ่นเดิมของท่าน ปัจจุบันหันมานับถือพุทธศาสนาจนหมดสิ้น

ชีวิตในเยาว์วัย

เมื่อหลวงปู่สมชาย มีอายุได้ ๒ ขวบ มารดาของท่านก็ถึงมรณะกรรม คุณตาของท่านก็รับภาระ เลี้ยงดู สิ้นบุญของคุณตาหลวงปู่สมชายก็มาอาศัยอยู่กับญาติ ซึ่งมีฐานะเป็นลูกผู้พี่ แต่เมื่อพี่สะไภ้ได้เสียชีวิตจากไป ท่านต้องรับภาระเลี้ยงดูหลาน ๔ -๕ คนแทนเพราะพี่ชายเมื่อสิ้นพี่สะไภ้ ก็กระทำตัวเป็นนักเลงหัวไม้ หาได้สนใจในหน้าที่ของพ่อที่มีต่อลูกไม่ ท่านจึงได้พยายามสร้างฐาานะขึ้นมา ให้ทัดเทียมกับผู้อื่น ด้วยอุปนิสัยที่เป็นผู้มีนิสัยเด็ดเดี่ยว เอาจริง ถ้าตั้งใจจะทำสิ่งใดแล้วต้องทำให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เป็นนักเสียสละบำเพ็ญประโยชน์ ของส่วนรวม ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก เป็นผู้มีความทรหดอดทน กล้าหาญ ท่านได้สร้างฐานะขึ้นมาจนสำเร็จ เป็นที่เคารพยกย่อง นับถือของตระกูล ตลอดจนคนทั่วไปในหมู่บ้านนั้น

ระลึกชาติได้

ตอนที่ท่านยังไม่บวช เวลาท่านนอน มือท่านทั้งสองข้างมาพนมเข้าหากัน และบริกรรมว่า โอม ปถวีๆๆ ขานั้นก็นั่งขัดสมาธิ หลุดปุ๊บก็ระลึกถึงชาติเก่าทันที ท่านบอกว่าเป็นอยู่อย่างนี้ ระลึกได้ถึง ๔ ปี ทุกคืน และเป็นไปอัตโนมัติ ว่าชาติที่ ๑ นั้น ท่านเกิดเป็นฤาษี บวชเป็นฤาษี ลุงของท่านเป็นหัวหน้าฤาษีในชาตินั้น ชาตินี้ลุงของท่านก็กลับมาเป็นพ่อของท่าน ชาติที่ ๒ ก็เป็นอย่างนั้นอีก(เหมือนชาติที่ ๑) ชาติที่ ๓ ได้เกิดเป็นลูกชาวประมง พอโตขึ้นหน่อย พ่อแม่ก็ให้ออกไปหาปลาเพราะเป็นชาวประมง แต่ท่านไม่เอา ท่านก็เลยบวช พอไปก็ไปพบกับสำนักของฤาษีอีก พอกลับชาตินี้ คือชาติปัจจุบัน ท่านก็กลับมาเป็นลูกของลุงในชาติอดีตคือ ฤาษีนั่นเอง กลับมาเกิดเป็นพ่อของท่าน

การสนใจในธรรมะ

ดังที่รู้กันอยู่แล้ว เดิมท่านอยู่ในตระกูลชาวฮินดู ขณะที่คุณตายังมีชีวิตอยู่ท่านก็มีความสนใจในทางธรรมะ ของทางพระพุทธศาสนา ท่านได้เสาะแสวงหาหนังสือพุทธประวัติมาอ่าน บางทีก็แอบไปฟังเทศน์จากท่านพระอาจารย์นาค โฆโส ซึ่งเป็นพระปฏิบัติกรรมฐานในสาย หลวงปู่มั่น การกระทำนี้ท่านต้องแอบกระทำ เพราะเป็นการกระทำผิดต่อศาสนาเดิมอย่างร้ายแรง และยิ่งถ้าคุณตาของท่านรู้ก็ยิ่งจะต้องถูกทำโทษสถานหนัก แต่การกระทำ ของท่านก็หารอดพ้นสายตาของคุณตาไม่ ท่านถูกคุณตาทำโทษ บางครั้งถูกเฆี่ยนตี และมัดมือไพล่หลังตากแดด ท่านก็ไม่เคยร้องไห้ ไม่เคยร้องขอความเห็นใจจากผู้ลง โทษเลยเด็ดขาด ท่านได้แต่นิ่ง เงียบ เฉย ตลอดเวลา แต่ก็หาเข็ดหลาบ ท่านยังคงสนใจในทางธรรมะ ทำบุญและไปเรียนรู้ทางสำนักปฏิบัติ ฟังเทศน์จากพระ กรรมฐานต่างๆ แต่เป็นการกระทำที่ระมัดระวังยิ่งขึ้น เหตุการณ์ต่างๆภายในครอบครัวของพี่ชายที่เกิดขึ้น ยิ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้ท่านหันเข้าสู่โลกุตรธรรมมากขึ้น เบื่อหน่ายในฆราวาสวิสัย มีความพอใจในเพศนักบวชมากขึ้น เมื่อเห็นว่าท่านปฏิบัติหน้าที่ภายในครอบครัวสมบูรณ์ เป็นเวลาอันสมควรแล้ว จึงได้ขออนุญาตจากพี่ชายขอบวช พี่ชายท่านก็อนุญาตเพราะคิดว่าเป็นไปได้ยาก

เข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์

เมื่อพี่ชายอนุญาตแล้ว หลวงปู่สมชายได้เดินทางไปฝากตัวเป็นนาคกับท่านอาจารย์เพ็ง วัดป่าศรีไพรวัลย์ อยู่ฝึกฝนอบรมพอสมควร จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด มีท่านเจ้าคุณพระโพธิมุนี เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ธรรมยุตเป็น พระอุปัชฌาย์ วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๗ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีวอก พำนักจำพรรษา ณ วัดป่าศรีไพรวัลย์ ๑ พรรษา ขณะนั้นท่านมีอายุประมาณ ๑๙ ปี ในระหว่างที่จำพรรษาอยู่ได้ยินกิตติศัพท์ว่า หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถร “เป็นพระอรหันต์ ผู้หมดจดจากกิเลส” ใคร่จะได้เห็นพระอรหันต์ขีณาสพในสมัยปัจจุบัน จึงกราบลาท่านอาจารย์ ติดตามพระอาจารย์ป่อง จนฺทสาโร และคณะ ๔ – ๕ รูป เดินทางมุ่งสู่สำนักหลวงปู่มั่น จนลุถึงเขตสาขาสำนักหลงงปู่มั่นคือ สำนักท่านอาจารย์กู่ วัดป่าบ้านโคกมะนาว ซึ่งเป็นสำนักหน้าด่านอยู่รอบนอก อยู่ฝึกฝนอบรมจิตใจ และมารยาทพอสมควรแล้ว ได้พากันไปมอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่วัดป่าหนองผือ ตำบลบนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ขณะที่ยังเป็นสามเณรอยู่ หลังจากเข้าไปมอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์ ภูริทตฺตเถร แล้วท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาธรรมะ ข้อวัตรปฏิบัติทั้งปวง เมื่อเห็นว่าจวนจะถึงฤดูกาลพรรษา จึงได้กราบลาหลวงปู่มั่นออกไปบำเพ็ญและจำพรรษา อยู่กับท่านพระอาจารย์ กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.เมือง จ.สกลนคร ที่สำนักหลวงปู่มั่น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เพื่อคอยเวลาไปศึกษาธรรมะในโอกาสต่อไป เมื่อท่านอาจารย์อายุครบ ๒๐ ปี พอที่จะทำการญัติติจตุตถกรรม เป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาได้แล้ว หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถร ก็ได้มอบผ้าสังฆาฏิให้ผืนหนึ่ง มีขันธ์ ๑๑ ขันธ์ ช้อนซ่อมทองเหลือง ๑ คู่ รวมในการอุปสมบท หลวงปู่สมชายเห็นว่าเป็นผ้าของครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยใช้มาแล้ว ลูกศิษย์ไม่ควรเอามาใช้ เพราะจัดอยู่ในประเภทบริโภคเจดีย์ ควรแก่การกราบไหว้ สักการะบูชาแก่ศิษยานุศิษย์ ท่านจึงเก็บเอาไว้ หลวงปู่มั่นได้ทราบเจตนาจึงได้สั่งให้คุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ ซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐากของท่านที่สำคัญคนหนึ่ง จัดการหาผ้าสังฆาฏิใหม่ มาถวาย เมื่อจัดบริขารทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่มั่นได้สั่งให้ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโสเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สั่งให้ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ทำการอุปสมบทกรรม ณ พัทธสีมา วัดศรีโพนเมือง อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมีหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นเจ้าอาวาส

ออกแสวงหาโมกขธรรม

ในสมัยหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโยยังเป็นนวกะภิกษุ ได้ออกบำเพ็ญสมาธิ แสวงหาโมกขธรรมโดยตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม ตลอดมา เพื่อพิสูจน์ความจริงในพระศาสนา สถานที่ที่ท่านใช้บำเพ็ญกรรมฐานนั้น เป็นสถาานที่ๆ ซึ่งนักปฏิบัติธรรม หรือพระกรรมฐานชอบแสวงหาความสงบวิเวก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระปฏิบัติสายหลวงปู่มั่นสถานที่นั้นคือ “ภูวัว” ซึ่งมีเทือกเขายาวติดต่อกันทั้งยังมีภูเขาลูกเล็กบ้างใหญ่บ้างสลับซับซ้อนจนถึงฝั่งแม่น้ำโขง ตลอดจนสำนีกต่างๆที่เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น จนอายุพรรษาเข้าขั้นเถรภูมิ ท่านเห็นสมควรเป็นนิสสัยมุตตกะ คือ พ้นจากการถือนิสัยกับอาจารย์ได้แล้ว ก็ได้จาริกเสาะแสวงหาสถานที่สงบวิเวก เพื่อบำเพ็ญกรรมฐาน บางครั้งไป องค์เดียว บางครังก็มีเพื่อนสหธรรมิกติดตามไปด้วย เฉพาะทางภาคอีสานท่านเคยธุดงค์ผ่านเกือบทุกจังหวัด ในการเดินธุดงค์ปฏิบัติกรรมฐานของท่านนั้นท่นเป็นพระที่เอาจริง ปฏิบัติจัง เด็ดเดี่ยวและประกอบด้วยเคยมีบารมีมาแต่ก่อน ท่านจึงเป็นพระที่มีบุญญาอภินิหารมากมาย มีเรื่องเล่ากันว่า วันหนึ่งขณะที่ท่านปักกลดบำเพ็ญเพียรอยู่ที่แถงจังหวัดสกลนคร บังเอิญมีพระเจ้าอาวาสวัดหนึ่งที่เคยรักใคร่ชอบพอกันมาก มรณะภาพลง เมื่อข่าวทราบถึงหลวงปู่ ท่านจึงคิดว่า เอ..ท่านกัยเรานี่ชอบกันมากจะไม่ไปเยี่ยมก็จะน่าเกลียด ครั้นจะไปมือเปล่า ก็จะเป็นการไม่สมควร จึงคิดว่าอย่ากระนั้นเลย เราจะขอร้องให้ญาติโยมไปหาหน่อไม้ป่า เอาไปฝากสักสองสามกระสอบก็จะเป็นการดี เมื่อคิดอย่างนั้นแล้วจึงเอ่ยปากบอกญาติโยมที่มาหา ญาติโยมก็เต็มใจพากันออกหาหน่อไม้มาถวายตามความประสงค์หลายคนด้วยกัน แต่ก็ไม่สามารถหาได้ตามความต้องการ เพราะปรากฏว่ามีคนมาหักเสียก่อนแล้ว จึงได้ติดไม้ติดมือมาไม่กี่หน่อ

ทางด้านหลวงปู่สมชาย เมื่อญาติโยมกลับมารายงานดังนั้น ก็คิดว่า เอ เราจะไปเยี่ยมศพอย่างไรได้เล่า อะไรๆก็ไม่มีติดมือไป จะอยู่ต่อไปก็อายเขาเพราะพระชอบๆกันยังไปเยี่ยม อย่ากระนั้นเลย เราหนีดีกว่า จึงบอกกับญาติโยมว่า ถ้ากระนั้นอาตมาจะต้องขอลาโยมๆไปก่อนละนะอยู่ไม่ได้อายเขา ญาติโยมก็อ้อนวอนให้อยู่ก่อนเถอะ จะได้เป็นที่พึ่งได้อบรมธรรมะกันบ้าง

เมื่อญาติโยมอ้อนวอนอย่างนั้น ท่านก็ใจอ่อนนั่งนิ่งอยู่สักครู่หนึ่ง แล้วก็บอกกับญาติโยมว่า อาตมาจะอยู่ต่อไปละ แต่ญาติโยมจะต้องออกไปหาหน่อไม้อีกครั้ง ถ้าได้อาตมาก็จะอยู่ต่อ ถ้าไม่ได้อาตมาก็ต้องไปแน่ ญาติโยมก็อึ้ง แต่ก็ต้องตกลง เพราะอยากให้อยู่ ต่างก็คิดว่าจะหาได้อย่างไร เมื่อกี้ก็ไปแล้วยังไม่ได้ แต่ด้วยความยากให้ท่านอยู่จึงจำเป็นต้องออกไปหาอีกครั้ง คราวนี้ออกไปกันหลายต่อหลายคนเอากระสอบเตรียมไปด้วย พอออกไปได้หน่อยเดียวเท่านั้น ทุกคนต้องตกตะลึงเพราะปรากฏว่ามีลิงตูดแดงๆ ไม่รู้ว่ามาจากไหนมากมายแถวนั้น ไม่เคยมีลิงประเภทนี้มาก่อนเลย ฝูงลิงต่างก็หักหน่อไม้จากกลางกอไผ่โยนออกมากลาดเกลื่อนไปหมด ญาติโยมไม่ต้องหักเลยทำหน้าที่แต่เพียงเก็บใส่กระสอบอย่างเดียว เดี๋ยวเดียวเต็มสามสี่ กระสอบเกินความต้องการ ต่างคนต่างก็พูดโจทย์ขานกันใหญ่ว่า เอ หน่อไม้มาจากไหนเมื่อตะกี้พวกเราไม่เห็นมีเลย ลิงก็ไม่มีหน่อไม้ก็ไม่มีน่าอัศจรรย์ใจจริงๆ นี่คงจะเป็นบุญญของพวกเรา และบุญญาธิการของท่านหลวงปู่สมชาย จึงทำให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้น พอกลับมาก็เข้ารายงานหลวงปู่ และเรียนถามท่านว่า ลิงและหน่อไม้นั้นมาจากไหนกัน หลวงปู่ตอบอย่างยิ้มๆว่า เทวดาเขาคงจะเอ็นดูญาติโยม กลัวว่าอาตมาจะไปจากที่นี่กระมัง เขาจึงลงมาช่วยญาติโยมหาหน่อไม้ให้ ญาติโยมก็พนมมือ สาธุขึ้นพร้อมๆกัน แต่ต่างก็นึกว่านี้คงจะเป็นอำนาจบารมีธรรม ของหลวงปู่เป็นแน่ หรือเขาเรียกกันว่า อภิญญาธรรมละกระมัง จึงดลบันดาลให้เป็นไป

ในหมู่ญาติโยมที่ไปเก็บหน่อไม้นั้น มีคุณย่าของท่านครูบาคำพัน อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาสุกิม รวมอยู่ด้วยเมื่อคราวถวายเพลิงพระศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ญาติโยมทั้งหลายที่เคยช่วยเก็บ หน่อไม้ยังมาร่วมถ่ายภาพร่วมกับหลวงปู่ด้วย แม้บางคนแก่จนเดินไม่ไหว ยังพยายามนั่งรถเข็นมา เพราะความเลื่อมใสในเมตตาธรรม และธรรมปฏิบัติที่เคยสั่งสอนอบรมมา ให้เป็นแนวทางแต่ กาลนั้น เป็นต้นมา

ภาคเหนือและภาคกลางก็มีบ้างเป็นบางจังหวัด บางทีก็ข้ามไปยังประเทศลาว นอกจากนี้ท่านยังเข้าไปในเขตประเทศพม่า ปักหลักบำเพ็ญภาวนาอยู่หลายเดือนกับพวกชาวกระเหรี่ยง และในระหว่างบำเพ็ญตอนนี้ แทบจะเอาชีวิตไม่รอด เนื่องจากไม่ได้ฉันอาหารตั้งหลายเดือน ฉันเฉพาะผักและใบไม้พอประทังชีวิตอยู่เท่านั้น เพราะกระเหรี่ยงเขานับถือภูติผีปีศาจ ภาษาก็ไม่รู้เรื่องกัน กว่าพวกเขาจะมีความเลื่อมใสศรัทธาให้การอุปถัมภ์บำรุงร่างกายก็แทบแย่ เมื่อร่างกายและกำลังดีพอแล้ว หลวงก็ได้เดินทางกลับมาพักที่อ.หัวหิน จ.ประจวบขีรีขันธ์ จนกระทั่งมีลูกศิษย์ของอาจารย์ ท่านหนึ่ง แนะนำว่าจังหวัดจันทบุรีเป็นสถานที่ประกอบพร้อมไปด้วยสัปปายะ มีสถานที่สงบวิเวกหลายแห่ง เหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา หลวงปู่จึงตกลงใจมาจันทบุรีเพื่อทดลองดู เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔