ลอยกระทง ขึ้น ๑๕ เดือน ๑๑ สวดมนต์ทำวัตรเย็น และขอขมาเจ้าแม่คงคา

๑๕/๑๑/๒๕๖๗ กิจกรรมวันลอยกระทง (ขึ้น ๑๕ เดือน ๑๑) พระสงฆ์ได้นำศาสนิกชนสวดมนต์ทำวัตรเย็น และเจริญจิตตภาวนา หลังจากนั้นทำพิธีขอขมาพระแม่คงคาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ณ บริเวณหน้าองค์พระปรางนาคปรกคันธาระ พญานาคราชกับรอยพระพุทธบาทครั้งแรกที่ริมฝั่งแม่น้ำนมทา ??? รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าได้ปรากฏอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนำมทานั้น มีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ คือ สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเสด็จมาที่แม่น้ำนำมทา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พระองค์ได้ไปแสดงธรรมโปรดชาวบ้าน และเที่ยวบิณฑบาตรเป็นระยะเวลาสองสามวันกับสาวกท่านหนึ่ง ผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้วจึงทูลขอบวช แคว้นสุนาปรันตะ ซึ่งในระหว่างทางที่เดินกลับ ก็ได้เสด็จมาที่แม่น้ำนำมทา ที่แม่น้ำนำมทาได้กล่าวไว้ว่า มีนาคราชอาศัยอยู่ และได้ต้อนรับพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์จะเสด็จกลับ นาคราชได้ทูลขอสิ่งขอไว้บูชาหนึ่งอย่าง พระพุทธเจ้าจึงเลยประทับรอยพุทธบาทไว้ นี่ก็เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ที่ชายหาดริมแม่น้ำนัมมทา

พิธีขอขมาพระแม่คงคา ตามประเพณีลอยกระทง ณ บริเวณหน้าองค์พระปรางนาคปรกคัธระ พญานาคราชกับรอยพระพุทธบาท

พระสงฆ์นำศาสนิกชนทำพิธีขอขมาพระแม่คงคาเพื่อความเป็นสิริมงคล

พุทธศาสนิกชน ร่วมพิธีเนื่องในวันลอยกระทง 15 พฤษจิกายน 2567 อย่างพร้อมเพียงกัน ณ บริเวณหน้าองค์พระปรางนาคปรกคัธระ โดยทุกท่านนำกระทงที่ประดิษฐ์อย่างสวยงาม เพื่อมาลอยในสระน้ำตามความเชื่อเป็นการบูชา ขอขมา พระแม่คงคา ตามประเพณี

ประวัติวันลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดียที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เท่าที่ปรากฏกล่าวได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนามีการปล่อยโคมลอยเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา (แม่น้ำนัมมทา เป็นแม่น้ำที่คู่ขนานกับทิวเขาวินธัย ไหลลงภาคตะวันตกของอินเดียแบ่งเขตอินเดียออกเป็นภาคเหนือและภาคใต้)

ตามเรื่องนางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวไว้ว่าในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป หนังสือเรื่องนี้ได้อ้างพระดำรัสของพระร่วงว่า

“จึ่งมีพระราชบริหารบำหยัดสาปสรรว่า แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงการกำหนด นักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน ๑๒ พระราชพิธีจองเปรียงแล้ว ก็ให้กระทำโคมลอยเป็นรูปดอกกระมุทอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน อันว่าโคมลอยรูปดอกกระมุทก็ปรากฏมาจนเท่าทุกวันนี้ แต่คำโลกสมมุติเปลี่ยนชื่อเรียกว่าลอยกระทงทรงประทีป เหตุดังนี้ข้าน้อยผู้ชื่อว่านพมาศก็ถึงซึ่งมีชื่อเสียงปรากฏอยู่ใน แผ่นดินได้อย่างหนึ่ง…”

ท้าวศรีจุฬาลักษณ์, ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1 จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้เปลี่ยนแปลงจากการทำจากดอกบัวเป็นต้นกล้วยเพราะดอกบัวดังกล่าวหายากและมีน้อย จึงใช้ต้นกล้วยทำแทนแล้วดูไม่สวยจึงใช้ใบตองมาพับแต่งจนสวยสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งเชื่อว่า ประเพณีลอยกระทง อาจมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่คนในภูมิภาคนี้นับถือศาสนาผี ที่คนไทจะนับถือผีฟ้า(แถน) ผีดิน ผีน้ำ ผีนา ผีป่า ผีบ้าน ผีเมือง ซึ่งดินแดนในแถบนี้ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย จึงน่าจะเปลี่ยนจากผีมาเป็นเทพ ผีฟ้าเป็นเทวดาชั้นฟ้า ผีดินเป็นพระแม่ธรณี ผีน้ำเป็นพระแม่คงคา ผีนาเป็นพระแม่โพสพ ผีป่าเป็นรุกขเทวดา ผีบ้านเป็นพระภูมิเจ้าที่ ผีเมืองเป็นพระสยามเทวาธิราช ซึ่งจะสังเกตได้ว่าทางอินเดียจะไม่มีการบูชาพระแม่คงคาแบบไท นั่นเพราะคนไทปกติก็บูชาผีน้ำกันอยู่แล้ว จึงเกิดการบูชาพระแม่คงคาขึ้น ซึ่งในวัฒนธรรมศาสนาผีแต่เดิม คนไทจะขอขมาผีดินและขอขมาผีน้ำ ที่ตนเองใช้สอยและขับถ่ายใส่ ซึ่งกระทงที่ใช้สมัยก่อนจะเป็นแค่กระทงสี่เหลี่ยมที่ใช้ใส่เครื่องเซ่นไหว้ผี และจึงเปลี่ยนมาเป็นกระทงแบบคล้ายดอกบัวแบบที่เห็นในปัจจุบันเพราะอิทธิพลพุทธศาสนาที่มีดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ เมื่ออิทธิพลจากศาสนาพุทธเข้ามา คนไทจึงเริ่มเปลี่ยนจากบูชาพระแม่คงคามาบูชารอยพระพุทธบาทตามศาสนาใหม่ที่ตนนับถือ

ส่วนประเพณียี่เป็งของทางล้านนา โคมไฟเป็นภูมิปัญญาของคนล้านนาในสมัยโบราณ ที่ประดิษฐ์ขึ้นในการป้องกันไฟไม่ให้ดับเมื่อโดนลมพัด ได้สร้างสรรค์จนเกิดเอกลักษณ์เฉพาะตนและรูปแบบต่างๆมากมาย ต่อมาได้กลายเป็นเครื่องบูชา ประดับประดาศาสนสถาน เช่น วัดวาอาราม เพื่อใช้บูชาพระพุทธเจ้า ซึ่งสมัยก่อนจะมีอยู่แค่ 5 สี ตามสีฉัพพรรณรังสีของพระพุทธเจ้า ที่นอกจากประดับประดาเพื่อความสวยงาม และบูชาพระรัตนตรัยหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยังเชื่อกันว่า เมื่อภูติผีปีศาจเห็น จะคิดว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นี่ จะพากันรีบหนีไป ไม่กล้ามาทำอันตรายผู้คนอีก

เรื่องอื่นๆ